บทความ
ความเป็นมาของระบบ
เครื่องปรับอากาศ
ในปี 1902 หนึ่งปีหลังจาก Willis Haviland Carrierสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิศวกรรมจาก Cornell เครื่องทำความเย็นเครื่องแรกของโลกก็ถือกำเนิดขึ้นโดยสามารถปรับอุณหภูมิ และความ ชื้นให้แก่โรงพิมพ์ใน Brooklyn เขาได้กลายเป็นบิดาแห่งเครื่องปรับอากาศในเวลาต่อมาCarrier ได้ฉุกคิดถึงระบบปรับอากาศโดยบังเอิญ ขณะที่เขากำลังรถไฟ คืนที่มีหมอกมากๆทำให้เขา นึกถึงปัญหาของความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นและอุณหภูมิในอากาศขณะที่รถไฟมาถึงเขาก็เข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นและจุดควบแน่น (Dew Point) เครื่องปรับอากาศ ได้ถูกใช้ในอาคารประเภทโรงงานที่ต้องการการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเช่น โรงงานยา สูบ ฟิล์ม เนื้อสัตว์โรงงานทอผ้า และอื่นๆ ระบบทำความเย็นสำหรับผู้คน แทนที่จะเป็นสินค้าเริ่มขึ้นเมื่อปี 1924 เมื่อเครื่องปรับอากาศถูกติดตั้งที่ห้าง สรรพสินค้า J.L. Hudson ที่ Detroit ในช่วงปี 1920s ระบบทำความ เย็นได้ถูกติดตั้งตามอาคารประเภทต่างๆ เช่น โรง ละคร โรงแรม และห้างสรรพสินค้าแต่ในอาคารสำนักงานยังไม่เป็นที่นิยมนัก ช่วงกลางทศวรรษซึ่งเป็น ช่วงที่วงการ ก่อสร้างในอเมริกามีความตื่นตัว อย่างมาก อาคารสำนักงานมีการแข่งขันกันมากขึ้น ยังคงเป็นอาคารที่พึ่งพาแสงและการระบายอากาศแบบธรรมชาติอยู่ การออกแบบอาคารสำนักงานในสมัยนั้นจะต้องคำนึงถึงการรับแสงจากธรรมชาติเป็นหลัก การพัฒนาประสิทธิภาพของอาคารในแง่ ของความสบายในการใช้งาน ได้รับความสนใจมากขึ้นจากการออกแบบที่พึ่งพา ธรรมชาติมาเป็นแบบที่ผนวกเอาเครื่องจักรเข้ามาช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพ อาคารสำนักงานที่ปรับอากาศ


ทั้งหลังเกิดขึ้น ครั้งแรกที่เมือง San Antonio มลรัฐ Texas ในปี 1929 อาคาร Milam ถูกโฆษณาว่าเป็นอาคารหลังแรกของอเมริกาที่สา มารถสร้างอากาศที่สบายสำหรับผู้ใช้งานได้ตลอดทั้งปี ระบบทำความเย็นได้รับความสนใจอย่างสูง Condenser ซึ่งใช้ น้ำจากแม่น้ำมาทำน้ำเย็น น้ำเย็นจะถูกเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ ก่อนที่จะถูกส่งไปไปเป่าให้พื้นที่ในอาคาร ผ่านทางท่อส่งเหนือทางเดิน อากาศจะ ถูกหมุนเวียนกลับโดยพัดลมผ่านท่อตามทางเดิน
คำนวณบีทียูแอร์
คำนวณบีทียูแอร์ เรามักได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่า บีทียู อยู่เสมอสำหรับคนที่ ต้องการติดตั้งแอร์ อีกทั้งมักมีการพูดอยู่บ่อย ๆ ว่าเวลาจะเลือก ติดตั้งแอร์ ต้องเลือก บีทียู ให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ด้วยจะได้ไม่ต้องเปลืองไฟ จนเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า บีทียู มันคืออะไรกันแน่ แล้วเราจะมีวิธีในการ คำนวณบีทียูแอร์ อย่างไรเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ที่ต้องการ ติดตั้งแอร์ ลองมาดูวิธีคำนวณไปพร้อมกัน ที่สำคัญอย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ รู้ด้วย
ความหมายของ บีทียู – หรือ British Thermal Unit (BTU)
เป็นหน่วย ประเภท หนึ่งสำหรับการใช้วัดปริมาณความร้อน ส่วนใหญ่ แล้วมักนำมาใช้กับ ระบบของแอร์ หากเทียบกับหน่วยสากลแล้วมันก็คือ จูล หรือแคลอรี นั่นเอง สำหรับ ความร้อนระดับ 1 BTU หมายถึง ระดับความร้อนที่ส่งผลให้น้ำระดับ 1 ปอนด์ จะมีอุณหภูมิลดลงหรือเพิ่มขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเมื่อมีการนำมาใช้กับแอร์หมายถึงระบบของ แอร์ จะทำการดึงเอาความร้อนหรือ วัดระดับของความเย็น ในพื้นที่ที่ติดตั้งออกไปเพื่อให้อากาศ ถ่ายเท ได้คงที่มากที่สุดนั่นเอง
สูตรคำนวณบีทียู แอร์ คำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัยคือแล้ว ขนาดห้องของเรา ควรต้องใช้แอร์จำนวนกี่บีทียู เรื่องนี้จริง ๆ แล้วมันมีหลาย ปัจจัย เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะขอ อธิบายสูตรการ คำนวณบีทียู ให้เข้าใจกันก่อนเผื่อว่าต้องการจะนำไป คำนวณ เพื่อวัดหาค่าสำหรับ ติดตั้งแอร์ สูตรนี้เข้าใจไม่ยาก
ค่า BTU = พื้นที่ของห้อง (ขนาดกว้าง x ยาว) x ระดับความแตกต่าง
สูตรนี้มีคำอธิบายเพิ่มเติมคือ พื้นที่กว้าง x ยาว ของห้องจะใช้หน่วยเป็นเมตร เมื่อ x กันออกมาก็จะได้เป็นตารางเมตรจากนั้นเอาไป x กับระดับความแตกต่าง ระดับความแตกต่าง – คือ ระดับความร้อน ในช่วง เวลากลางวัน และ กลางคืน ที่แตกต่างกัน โดยค่าของระดับความต่างแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
-
ห้องที่ใช้เฉพาะเวลากลางคืน มีความร้อนน้อย ระดับความต่างประมาณ 700
-
ห้องที่ใช้ตอนกลางวันบ่อย ๆ มีอัตราความร้อนสูง ระดับความต่างประมาณ 800
วิธีคำนวณบีทียูให้เหมาะกับห้อง
BTU ห้องนอน โดนแดด ห้องทำงาน โดนแดด
9,000 9-14ตรม 9-12ตรม 9-12ตรม 9-10ตรม
12,000 14-20ตรม 14-18ตรม 14-18ตรม 14-16ตรม
15,000 18-24ตรม 18-22ตรม 18-22ตรม 16-20ตรม
18,000 24-28ตรม 24-26ตรม 24-26ตรม 22-24ตรม
25,000 28-36ตรม 28-34ตรม 28-34ตรม 24-32ตรม
ตัวอย่างการคำนวณง่าย ๆ คือ สมมุติว่าห้องนอนของคุณมีพื้นที่กว้าง 3 ม. ยาว 5 ม. ใช้แอร์ตอนกลางวันเป็นประจำ เมื่อแทนสูตรก็จะได้ (3 x 5) x 800 = 12,000 นั่นหมายความว่าห้องนอนของคุณควรใช้แอร์ที่ระดับ 12,000 BTU
คำนวณโดยใช้สูตรพื้นที่ห้อง
BTU = [กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร)] x ตัวแปร
ตัวแปร
700 สำหรับห้องนอนปกติ
800 สำหรับห้องนอนโดนแดด
800 สำหรับห้องทำงาน ปกติ
900 สำหรับห้องทำงาน โดนแดด
950 – 1,100 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน
1,000 – 1,200 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน
1,100 – 1,500 ห้องประชุม ห้องสัมมนา ร้านอาหารสุกี้/ชาบู/ปิ้งย่างที่มีหม้อต้มหรือเตาความร้อนสูง
หรือห้องที่มีจำนวนคนต่อพื้นที่เยอะกว่าปกติหลายเท่า
ตัวอย่างการคำนวณ
ห้องนอนไม่ค่อยโดดแดด กว้าง 6 เมตร, ยาว 5 เมตร
BTU = [6 เมตร x 5 เมตร] x 700
= 30 ตารางเมตร x 700
= 21,000 => 24,000
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
-
ทิศทางที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
-
วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
-
ความสูงระหว่างพื้นกับเพดานห้อง
-
ขนาดของประตูหรือหน้าต่างกระจก
-
ความถี่ในการเปิด/ปิดประตู เข้า/ออก
-
จำนวนคนที่อยู่ภายในห้อง
-
จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง อาทิ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ อื่นฯลฯ
กระนั้นอีกสิ่งที่บอกไว้ว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น คนที่อยู่ในห้องนั้น, การโดนแสงแดด, ระดับความร้อนภายในห้อง เป็นต้น ซึ่งวิธีคำนวณบีทียู เป็นวิธีคร่าว ๆ เพื่อจะได้รู้ระดับที่ เหมาะสม ก่อนแล้วจึงค่อย พิจารณา ปัจจัยอื่นร่วมด้วยอีกที การคำนวณ ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายๆอย่างร่วมด้วย